เช็กด่วน ปัญหาสิวฮอร์โมนขึ้นซ้ำซาก มีหลุมสิวเยอะ ทำให้ขาดความมั่นใจ

เคล็ดลับผู้หญิง สิวฮอร์โมน
Poster 24
Poster 24

ผู้คว่ำหวอดในวงการแฟชั่นผู้หญิงแห่งประเทศไทย

Table of Contents

Facebook
Twitter

ปัญหาสิวฮอร์โมน เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้สาวๆขาดความมั่นใจ ทำให้ใบหน้าหมองคล้ำ มีรอยดำ รอยแดงจากสิวผิวไม่เรียบเนียน ซึ่งโดยส่วนใหญ่ มักจะเป็นสิวที่เดิมซ้ำๆ เช่น บริเวณแก้ม รอบปาก คาง  T-zone บางครั้งสิวเก่ายังไม่ทันหาย สิวใหม่ผุดขึ้นมาอีกแล้ว เกิดขึ้นบ่อย โดยเฉพาะในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น มีภาวะเครียด พักผ่อนน้อย เป็นประจำเดือน กินยาคุม เป็นต้น สิวเหล่านี้ยากที่จะควบคุม แต่สามารถแก้ไขได้ สำหรับใครที่สนใจ ติดตามรายละเอียดกันได้เลย

1. มาทำความรู้จักกับ สิวฮอร์โมน

1. มาทำความรู้จักกับ สิวฮอร์โมน

ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นจากร่างกายที่ทำงานไม่สมดุล ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และฮอร์โมนแอนโดรเจน ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ที่สูงขึ้นกว่าปกติ ไปกระตุ้นการทำงานของต่อมไขมัน ให้ผิวหน้าผลิตน้ำมันเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีความมันส่วนเกินบนใบหน้า ก็เป็นแหล่งเติบโตและสะสมของเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม P.acne จึงเป็นสาเหตุของการเกิดสิวขึ้นนั่นเอง 

2. ลักษณะของสิวฮอร์โมนเป็นอย่างไร สามารถแบ่งได้เป็นสิวอุดตัน และสิวอักเสบ

2. ลักษณะของสิวฮอร์โมนเป็นอย่างไร สามารถแบ่งได้เป็นสิวอุดตัน และสิวอักเสบ

  • สิวอุดตัน อาทิ สิวหัวเปิด เช่น สิวหัวดำ (Blackheads) ซึ่งจะมีลักษณะอุดตันขนาดเล็ก โดยจะมีการฝังเคราตินและไขมันไว้ตรงกลาง ซึ่งจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับอากาศทำให้ จากสีขาวเหลืองกลายเป็นสีดำนั่นเอง สิวอุดตันหัวปิด เช่น สิวหัวขาว ลักษณะจะเป็นสิวอุดตันที่นูนขึ้นมาจากผิวหนังเล็กน้อย บริเวณหัวสิวจะเป็นสีขาว 
  • สิวอักเสบ แบ่งออกเป็นสิวตุ่มนูนแดง  (Papule) ขนาดไม่เกิน 0.5 เซนติเมตรไม่มีหนองแต่เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อย  สิวหัวหนอง (Pustule) จะเป็นสิวสีแดงตรงกลางมีหนองสีขาวเหลือง เป็นสิวที่ให้ความรู้สึกเจ็บปวดเมื่อโดนสัมผัส และสิวตุ่มแดงขนาดใหญ่  (Nodule) หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อของสิวหัวช้าง เป็นการอักเสบรุนแรงและมีอาการเจ็บปวดมาก ลักษณะจะแข็งเป็นก้อน แต่ไม่มีหัวสิวและไม่มีหนองอยู่ข้างในไม่สามารถบีบออกได้ 
3. ปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำให้เกิด สิวฮอร์โมน 

3. ปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำให้เกิด สิวฮอร์โมน 

การเป็นสิวฮอร์โมนมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดิมๆซ้ำๆ เช่น ในช่วงระยะทั้งก่อนและหลังมีประจำเดือน  การพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับคนที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ พฤติกรรมการทานอาหาร ก็มีส่วนไม่น้อยเลย 

ใครที่ ทานอาหารที่มีไขมันเยอะ หรือติดหวานส่งผลกระทบให้เกิดสิวฮอร์โมนได้ง่ายมากขึ้น รวมไปถึงผู้หญิงที่อยู่ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ หรือหลังหยุดทานยาคุม ก็มักจะเกิดสิวฮอร์โมนได้เช่นกัน

4. วิธีดูแลรักษาสิวฮอร์โมนที่ถูกต้อง

4. วิธีดูแลรักษาสิวฮอร์โมนที่ถูกต้อง

หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันสูงเพราะจะกระตุ้นให้ร่างกายเกิดอนุมูลอิสระ เร่งการเกิดสิวมากขึ้นหันมาดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพออย่างน้อย 2.7 ลิตรต่อวัน จะช่วยรักษาสมดุลในร่างกายได้มากยิ่งขึ้น ช่วยให้ร่างกายขับเหงื่อและสิ่งสกปรกออกมาทางรูขุมขน อีกทั้งยังช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างปกติช่วยขับสารพิษได้มากขึ้นอีกด้วย รวมไปถึงการออกกำลังกายเบาๆ เช่น การโยคะ การเล่น Cardio อย่างน้อย 30 นาทีต่อวันก็ช่วยให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย ลดภาวะความเครียดสะสมลงได้ รักษาสิวด้วยการทายาวิตามินเอ ช่วยลดการอักเสบได้ดี แต่ต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เพื่อความปลอดภัย เป็นต้น

5. สัญญาณอันตรายที่ร่างกายเตือนในรูปแบบของสิวฮอร์โมน

5. สัญญาณอันตรายที่ร่างกายเตือนในรูปแบบของสิวฮอร์โมน

สำหรับใครที่ลองปรับพฤติกรรมและดูแลตัวเองมากขึ้นแล้ว แต่ก็ยังเกิดสิวฮอร์โมนอยู่ไม่หาย อาจจะเป็นสัญญาณที่ร่างกายเตือนโรคบางชนิดที่ไม่ควรมองข้าม เช่น มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร ซีสต์ในรังไข่ ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากขาดวิตามินที่จำเป็น หรือพักผ่อนน้อย เป็นต้น หากเกิดจากสัญญาณเตือนเหล่านี้ให้รีบแกไขโดยเร็ว อย่าปล่อยให้เรื้อรัง เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวขึ้นได้นั่นเอง

จะเห็นได้ว่า ปัญหาสิวฮอร์โมน มักเกิดขึ้นซ้ำๆในช่วงเวลาเดิม เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย จำเป็นที่จะต้องหาสาเหตุให้แน่ชัดและแก้ไขให้ถูกจุด ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการรักษาหลายรูปแบบ ทั้งแบบธรรมชาติ เช่น การสครับผิว การใช้ Tea Tree Oil เป็นต้น รักษาด้วยยาทาเฉพาะส่วน หรือ การทานยา รวมไปถึง การทำหัตถการ เช่น การใช้สารเคมีลอกผิว(Chemical Peel), การทำเลเซอร์ รวมถึง การฉีดสิวเป็นต้น ซึ่งทุกวิธีจำเป็นที่จะต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เพื่อแก้ไขและรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดนั่นเอง